วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกณฑ์สำหรับใช้ในการประเมินแนวทางการปฏิบัติ/แผนการปฏิบัติ (ภาค ๒ ตอน เกณฑ์ทั้ง ๗)

ภาคที่ ๑ ได้กล่าวแล้วว่าเกณฑ์ในการตรวจสอบแบ่งออกเป็น 7 เกณฑ์ สำหรับภาค ๒ นี้ จะกล่าวในรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบแนวทางปฏิบัติ ว่าจะผ่านด่าน (เกณฑ์) ต่อไปนี้หรือไม่

เกณฑ์ที่ ๑ ความยอมรับได้ (Acceptability)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความยอมรับได้ (Acceptability) ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นที่เชื่อได้ว่าแนวทางดังกล่าวคุ้มค่าต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เกณฑ์ความยอมรับได้จะพิจารณาว่าแนวทางปฏิบัติที่ได้พิจารณาแล้วนั้น มีค่าเพียงพอต่อ แรงงาน (Manpower) ที่จะใช้ในการปฏิบัติงาน วัสดุ (Material) และ เวลาที่ต้องใช้ในการปฏิบัติตามแนวทางนั้น (time involved) และต้องมีความสอดคล้อง (ไม่ขัด) กับ กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง


คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ยอมรับได้ เช่น
  1. มีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนที่แนวทางปฏิบัติ จะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายหรือสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. แนวทางปฏิบัติมีขัดต่อ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือไม่
  3. ค่าใช้จ่ายของผู้ปฏิบัติงาน ค่าวัสดุ และเวลาที่ต้องใช้ไป ยอมรับได้หรือไม่
  4. ระดับของความเสียงสามารถรับได้หรือไม่
เกณฑ์ที่ ๒ ความเพียงพอ (Adequacy)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ความเพียงพอ ก็ต่อเมื่อขอบเขตและแนวความคิดของแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ครอบคลุมต่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เช่น เป้าหมาย กำหนดไว้ว่าต้องการสร้างยานพาหนะที่ทำความเร็วสูงสุดเกินกว่า 160 กม./ชม. และเมื่อมีน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถังต้องสามารถเดินทางได้ไม่น้อยกว่า 700 กม. เมื่อทำการออกแบบแล้วพบว่า (จากการคำนวณ) ยานพาหนะดังกล่าวจะทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 200 กม./ชม. แต่เดินทางได้เพียง 500 กม. เมื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถัง ดังนั้นแนวทางดังกล่าว (แบบ) ไม่ผ่านเกณฑ์ความเพียงพอ

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความเพียงพอ เช่น
  1.  มีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนที่ขอบเขตและแนวความคิดของแนวทางปฏิบัติ ครอบคลุมต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. แนวทางปฏิบัติ (COA) ผ่านเกณฑ์หรือข้อกำหนดของของภารกิจ/กิจ หรือไม่
เกณฑ์ที่ ๓ ความสมบูรณ์ (Completeness)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถตอบคำถามที่ว่า อะไร (What), ที่ไหน (Where), เมื่อไหร่ (When), ทำไม (Why), และ อย่างไร (How)

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความสมบูรณ์ เช่น
  1. องค์ประกอบสำคัญของแนวทางปฏิบัติถูกระบุ หรือกำหนดแล้วหรือยัง
  2. แต่ละส่วนของแนวทางปฏิบัติเมื่อนำมารวมกันแล้วมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ (coherent whole)
เกณฑ์ที่ ๔ ความแตกต่าง (Distinguish ability)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความแตกต่าง ก็ต่อเมื่อแนวทางปฏิบัติที่นำมาทดสอบไม่เหมือนกัน คือ แนวทางที่ 1 , 2, 3 ... จะต้องแตกต่างกันอย่างชัดเจน

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความแตกต่าง เช่น
  1. แนวทางปฏิบัตินี้แตกต่างจากแนวทางอื่น ๆ หรือไม่ (ถ้าแตกต่างอย่างชัดเจนก็จะผ่านไปได้)
  2. แนวทางปฏิบัติถูกกำหนดและมีรายละเอียดอย่างดีหรือไม่
เกณฑ์ที่ ๕ ความเป็นไปได้ (Feasibility)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ หรือที่สามารถหามาได้

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความเป็นไปได้ เช่น
  1. แนวทางปฏิบัตินี้ สามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ หรือที่สามารถหามาได้หรือไม่
  2. แนวทางปฏิบัติที่กำหนด สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่ และเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่
เกณฑ์ที่ ๖ ความเหมาะสม (Suitability)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความเหมาะสม ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์


คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความเป็นไปได้ เช่น
  1. แนวทางปฏิบัตินี้ สามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ ได้อย่างไร
  2. แนวทางปฏิบัตินี้ มีความเหมาะสมที่จะสามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ มากน้อยแค่ไหน
เกณฑ์ที่ ๗ ความหลากหลาย/ความอ่อนตัว (Variety or varied)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความหลากหลาย ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถปรับแต่ง หรือปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบได้เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนไป

การนำเกณฑ์ทั้ง ๗ มาตรวจสอบแนวทางปฏิบัติ
การตรวจสอบแนวทางปฏิบัติด้วยเกณฑ์ทั้ง ๗ นั้น จะใช้เกณฑ์ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบ โดยกำหนดจาก 0% - 100% โดยเทียบดังนี้ 0% (Unlikely) คือไม่น่าจะเป็นไปได้ จนถึง 100% (Very likely) คือมีความเป็นไปได้อย่างมาก ในการประเมินความเป็นไปได้ ผู้รู้หลายท่าน เห็นว่าควรแบ่งเป็น 3 โซนคือ โซนแดง คือความเป็นไปได้ <= 50%, โซนเหลือง คือความเป็นไปได้ > 50 % แต่ <= 75%, โซนเขียว คือความเป็นไปได้ >= 75%
                    

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้มีความสุขในวันนี้
    ฉันชื่อฟิลิปฉันต้องการลงทุนในธุรกิจของคุณโดยสุจริตฉันมีการลงทุนที่ทำกำไรฉันยังเสนอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และสินเชื่อส่วนบุคคลในอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก 3% ต่อปีเป็นระยะเวลาหนึ่ง ปีแห่งการชำระหนี้เป็นส่วนหนึ่งของโลก

    คุณต้องการเครดิตดอกเบี้ยรายปี 3% จากจำนวนเงินทั้งหมดที่คุณต้องใช้ในการจัดหาเงินทุนหรือการเป็นหุ้นส่วนหุ้น 50/50% เป็นระยะเวลา 1 ถึง 10 ปีหรือไม่? ฉันต้องการทราบตัวเลือกของคุณเพื่อให้เราสามารถดำเนินการเจรจาต่อไปได้จำนวนเงินสูงสุดคือ $ 100million USD
    อีเมลติดต่อ: info@voorhinvestcorp.com
    URL ของเว็บไซต์: http://voorhinvestcorp.com/
    WhatsApp: +1 4704068043
    LINE ID: philipvoor
    อีเมล: voorheesphilip@gmail.com
    ขอบคุณ
    VOORHEES PHILIP

    ตอบลบ