วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจำหน่ายพัสดุ

ข้อมูลนำมาจาก เว็บไซด์กรมพลาธิการทหารเรือ http://www.navy.mi.th/supply/material/out.html

กล่าวทั่วไป

การจำหน่ายพัสดุออกจากบัญชีนับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงรอบการส่งกำลัง ซึ่งมีความสำคัญและความสัมพันธ์กับขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งหมดเป็นอย่างมาก การจำหน่ายพัสดุในปัจจุบันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานส่วนมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบตลอดจนคุณภาพของสินค้าในท้องตลาดอย่างรวดเร็ว ทำให้พัสดุต่าง ๆ กลายเป็นพัสดุล้าสมัย หลังจากใช้ได้ไม่นาน นอกจากนี้มีพัสดุที่มีความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการจัดเก็บรักษาและบำรุงรักษา การจำหน่ายพัสดุเหล่านี้ออกจากบัญชีโดยการ ขาย โอน แลกเปลี่ยน แปรสภาพหรือทำลาย สามารถทำให้หน่วยงานหมุนเวียนพัสดุใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเข้ามา ใช้ได้ทันกับความต้องการอยู่เสมอ

ความหมาย

การจำหน่ายพัสดุ หมายความถึง การตัดยอดพัสดุ (วัสดุหรือครุภัณฑ์) ออกจากบัญชีคุม โดยดำเนินการปลดพัสดุในความครอบครองของส่วนราชการนั้นออกจากความรับผิดชอบ ด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด คือ ขาย โอน แลกเปลี่ยน แปรสภาพหรือทำลาย โดยทั่วไปแล้วการจำหน่ายพัสดุมักจะหมายถึงการ จำหน่ายครุภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างคงทนถาวร สำหรับวัสดุถ้าหากไม่ได้ใช้หมดเปลืองไปตามลักษณะของการใช้งานหรือพัสดุที่มี อายุหากหมดอายุก็ต้องจำหน่ายด้วย

มูลเหตุของการจำหน่าย

การจำหน่ายพัสดุมีมูลเหตุที่เกี่ยวกับการบริหารพัสดุในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งตามวงรอบการส่งกำลังคือ
  1. เนื่องจากการกำหนดความต้องการ ได้แก่ การวางแผนในการกำหนดความต้องการไม่ดีพอ ทำให้มีพัสดุบางรายการมากเกินความจำเป็น ซึ่งอาจเกิดจากข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการประมวลความต้องการเป็นข้อมูลที่คลาดเคลือน หรือไม่ สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการของหน่วยผู้ใช้ในทาง ลดลง
  2. เนื่องจากการจัดหา ได้แก่การจัดหาไม่ได้ผลดี ซึ่งอาจเกิดจาาการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะไม่เหมาะสมกับการใช้งาน หรือการจัดซื้อจัดหาที่ไม่ถูกต้องตรงตามคุณลักษณะเฉพาะ หรือมีการตรวจรับพัสดุไม่ตรงตามที่จัดซื้อจัดจ้าง
  3. เนื่องจากการเก็บ รักษาหรือการแจกจ่าย ได้แก่ มีการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือเหมาะสมกับสภาพของพัสด ไม่มีการหมุนเวียนการจ่ายหรือไม่มีมาตรการการควบคุมพัสดุที่ดี ทำให้พัสดุเกิดการชำรุดเสื่อมสภาพจนใช้ราชการไม่ได้หรือสูญหาย หรืออาจเกิดการชำรุดหรือสูญหายในระหว่างการขนส่งกับคลังต่าง ๆ หรือหน่วยผู้ใช้ หรืออาจสูญไปตามธรรมชาติ หรือสูญไปเพราะภัยธรรมชาติ
  4. เนื่อง จากการซ่อมบำรุง ได้แก่ การใช้พัสดุโดยไม่มีการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง หรือเป็นพัสดุที่ใช้ราชการมานานทำให้เกิดการเสื่อมสภาพหรือชำรุด จนไม่สามารถซ่อมทำให้ใช้ราชการได้ หรือไม่คุ้มค่าในการซ่อมทำจะเห็นได้ว่าการจำหน่ายพัสดุเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงานอื่น ๆ ในวงจรการเบิกพัสดุ มูลเหตุของการจำหน่ายนั่นเมื่อพิจารณาแล้ว จะเข้าอยู่ในขั้นตอนใดตอนหนึ่งของวงจรเสมอ นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุอื่น ๆ อีกเช่น มีเศษวัสดุที่เหลือจากการใช้งาน ได้แก่ เศษเหล็ก ตะปู เศษไม้ที่เหลือจากการใช้งาน ฯลฯ 
ประโยชน์ของการจำหน่าย

  1. ปลดเปลื้องความรับผิดชอบพัสดุออกจากบัญชีคุม พัสดุชนิดใดที่ชำรุด และไม่สามารถใช้ราชการได้ แต่ยังมิได้ดำเนินการจำหน่ายบัญชี พัสดุนั้นถือว่ายังอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยครอบครอง (ผู้ใช้) พัสดุนั้นอยู่ แต่ถ้าพัสดุนั้นได้รับการจำหน่ายบัญชีแล้ว ผู้ควบคุมบัญชีพัสดุนั้นจะได้รับประโยชน์โดยตรงคือไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่า เสียหาย อันเกิดจากการสูญหายของพัสดุหรือในกรณีอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  2. ไม่ต้องเสียสถานที่ในการเก็บรักษา ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เช่น คลังต่าง ๆ ที่มีพัสดุเก่า ๆ ที่ล้าสมัยเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก หากดำเนินการจำหน่ายและระบายพัสดุนั้นออกจากคลังไปได้ จะทำให้มีสถานที่ สำหรับเก็บรักษาพัสดุใหม่อื่น ๆ ที่ทันสมัยกว่าได้มาก
  3. มีโอกาสจัดหา พัสดุชนิดเดียวกันแต่ได้แบบที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ในการใช้ประโยชน์มากกว่าพัสดุชนิดเดิม เช่น เครื่องคำนวณเลขชนิดมือหมุนมีประสิทธิภาพในการใช้น้อยกว่าเครื่องคำนวณเลขใฟ ฟ้า
  4. ได้รายได้จากการขายพัสดุที่จำหน่ายแล้ว หมายถึง ภายหลังจากการจำหน่ายพัสดุแล้วพัสดุรายการใดที่ชำรุดมากจนไม่สมควรนำมาซ่อม ทำเพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานอื่นได้ จะดำเนินการขายต่อไป ซึ่งบังเกิดผลดีกว่าเก็บของเก่าและใช้ประโยชน์อย่างใดไม่ได้
  5. สามารถ นำพัสดุที่หน่วยอื่นหมดความจำเป็น ซึ่งดำเนินการจำหน่ายบัญชีและดำเนินการส่งคืนมาดำเนินการซ่อมทำเพื่อนำไปใช้ กับหน่วยอื่นที่ยังมีความต้องการอยู่
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

การจำหน่ายบัญชีพัสดุของส่วนราชการใน ทร. ปัจจุบันต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่งเป็นหลักในการดำเนินการดังนี้
  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัดสุ พ.ศ.๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  2. ระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๒๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. คำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ ๓๙/๓๙ เรื่องการพัสดุ
  4. ข้อบังคับทหารว่าด้วยการขายพัสดุของหลวง พ.ศ.๒๔๙๐
  5. ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเงิน พ.ศ.๒๕๒๘ (ขกง.๒๘)
  6. คำสั่ง ทร.ที่ ๑๑๔/๒๕๔๑ ลง ๒๑ ก.ค.๔๑ เรื่องการมอบอำนาจสั่งการและทำการแทนใน ผบ.ทร.
  7. ข้อ บังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสียหายแก่เงินราชการหรือทรัพย์สินของทาง ราชการอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๔๒ (ขกล.๔๒)
วิธีการจำหน่าย

วิธีการจำหน่ายพัสดุมี ๒ วิธี คือ
  1. การจำหน่ายพัสดุแบบมีซาก หมายถึง การจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นต้องใช้ราชการต่อไปหรือหากใช้ราชการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก โดยสามารถนำซาก หรือตัวพัสดุมาดำเนินการขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทำลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามระเบียบสำนักงายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ข้อ ๑๕๗
  2. การจำหน่ายพัสดุเป็นสูญ หมายถึง การจำหน่ายพัสดุที่สูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ได้ หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรดำเนินการขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพหรือทำลาย
การดำเนินการจำหน่ายพัสดุ มีลักษณะการดำเนินการที่หน่วยต้องกระทำ ๒ วิธี
  1. การ จำหน่ายพัสดุภายหลังจากการตรวจสอบพัสดุประจำปีของหน่วยงานที่มีพัสดุไว้จ่าย การจำหน่ายวิธีนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการตรวจสอบพัสดุประจำปีโดยหัวหน้า ส่วนราชการของหน่วยจ่ายพัสดุ จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุประจำปี เพื่อตรวจสอบพัสดุตามคลังต่าง ๆ ภายหลังการตรวจ หากเจ้าหน้าที่พบว่าพัสดุรายการใดคงเหลือไม่ตรงตามบัญชี ชำรุด สูญหาย หรือพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะนำไปใช้ราชการอีกต่อไป เจ้าหน้าที่จะเสนอรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ หลังจากนั้นหัวหน้าส่วนราชการจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาเสนอขออนุมัติจำหน่ายบัญชี หรือดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
  2. การ จำหน่ายพัสดุระหว่างปี การจำหน่ายในวิธีนี้สำหรับใช้กับพัสดุของทางราชการที่ชำรุดเสื่อมสภาพหรือ สูญหายไป ก่อนมีการตรวจสอบพัสดุประจำปีของหน่วยงานที่มีพัสดุไว้จ่าย หรือ หน่วยผู้ใช้พัสดุต้องการจำหน่ายพัสดุที่ชำรุดเสื่อมสภาพออกจากบัญชี แต่ส่วนมากการจำหน่ายพัสดุด้วยวิธีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับหน่วยผู้ใช้พัสดุ เสียเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากหน่วยผู้ใช้ ต้องการพัสดุที่มีสภาพใช้งานได้ดีมาใช้ราชการได้ทันเพื่อทดแทนพัสดุที่ชำรุด
ขั้นตอนการปฏิบัติกับการดำเนินการจำหน่ายพัสดุระหว่างปีหน่ายราชการใน ทร. มีวิธีการปฏิบัติพอสรุปขั้นตอนได้ดังนี้
  1. หน่วย ที่มีพัสดุใช้งานเสนอรายงานการชำรุด และขอจำหน่ายบัญชีไปยังผู้บังคับบัญชาระดับ กรม กองเรือ และแนบใบรายการซ่อมทำ (ถ้ามี) โดยชี้แจงรายละเอียดดังนี้
    • ชนิด ตราอักษร หมายเลขเครื่อง หมายเลขทะเบียนครุภัณฑ์ (ถ้าเป็นครุภัณฑ์) ของพัสดุ
    • อายุการใช้งาน
    • สภาพของพัสดุที่ชำรุดโดยทั่วไป และสาเหตุของการชำรุด
    • จำนวนครั้งที่ซ่อมทำ
  2. เมื่อ หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม (ผบ.กองเรือ) ได้รับรายงานแล้วจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่งประกอบ ด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน กรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยแต่งตั้งจากข้าราชการชั้นสัญญาบัตร หรือผู้ที่ทางราชการสั่งให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร
  3. คณะ กรรมการสอบหาข้อเท็จจริง พิจารณาสาเหตุของการชำรุด ถ้าปรากฏว่ามีผู้รับผิดชอบ ให้คณะกรรมการเสนอหัวหน้าส่วนราชการทราบเพื่อเสนอ ทร. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางละเมิดต่อไป หากผลการพิจารณาเห็นว่าไม่ได้เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ให้ส่วนราชการเสนอรายงานไปยังหน่วยเทคนิคที่รับผิดชอบพัสดุนั้นอยู่ทั้ง ๑๐ หน่วย และหน่วยที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเทคนิค ศกล., กบร. สำหรับพัสดุอากาศยานตามระเบียบ ทร.ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๒๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพิจารณาพัสดุที่ต้องการจำหน่ายอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยเทคนิคใด ก็ให้เสนอรายงานไปยังหน่วยเทคนิคที่ควบคุมพัสดุรายการนั้น อนึ่งการส่งรายงานการขออนุมัติจำหน่าย ให้หน่วยแนบหลักฐานพร้อมไปด้วย ดังนี้
    • บันทึกรายงานจำหน่ายบัญชีของหน่วยผู้ใช้
    • คำสั่งหัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง
    • รายงานการสอบหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตามข้อ ๓.๒
    • ใบรายงานการซ่อมทำ (ถ้ามี)
    • สำเนาทะเบียนครุภัณฑ์
  4. เมื่อ หน่วยเทคนิคที่ควบคุมพัสดุในความรับผิดชอบ ได้รับรายงานพร้อมหลักฐานตามข้อ ๓.๑ ถึง ๓.๕ แล้ว จะพิจารณาดำเนินการตรวจสอบหลักฐานหากมีความเหมาะสมและอยู่ในอำนาจหน่วย เทคนิค จะอนุมัติให้จำหน่ายบัญชีได้และแจ้งให้หน่วยที่เสนอรายงานทราบเพื่อดำเนิน การตามข้อ ๔. หากไม่อยู่ในอำนาจจะเสนอ ทร. ต่อไป
  5. หน่วยผู้ใช้ พัสดุได้รับทราบการจำหน่ายบัญชีแล้ว หากเป็นการจำหน่ายบัญชีที่มีซากพัสดุเหลืออยู่ ให้หน่วยผู้ใช้ส่งคืนพร้อมใบส่งคืนไปยังหน่วยรวบรวมพัสดุใช้แล้ว เช่น พัสดุสายพลาธิการ มีสถานที่ส่งคืนคลัง ๖ (คลังพัสดุชำรุด) กคพธ.พธ.ทร. เป็นต้น หลังจากนั้นจึงลงจ่ายออกจากบัญชีของหน่วย โดยหน่วยเทคนิคจะดำเนินการขาย โอน แลกเปลี่ยน แปรสภาพ หรือ ทำลายตามความเหมาะสมต่อไปด้วยดังนี้
    • บันทึกรายงานจำหน่ายบัญชีของหน่วยผู้ใช้
    • คำสั่งหัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจรอง
    • รายงานการสอบหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตามข้อ ๓.๒
    • ใบรายงานการซ่อมทำ (ถ้ามี)
    • สำเนาทะเบียนครุภัณฑ์
  1. เมื่อ หน่วยเทคนิคที่ควบคุมพัสดุในความรับผิดชอบ ได้รับรายงานพร้อมหลักฐานตามข้อ ๓.๑ ถึง ๓.๕ แล้ว จะพิจารณาดำเนินการตรวจสอบหลักฐานหากมีความเหมาะสมหากอยู่ในอำนาจหน่วย เทคนิค จะอนุมัติให้จำหน่ายบัญชีได้และแจ้งให้หน่วยที่เสนอรายงานทราบเพื่อดำเนิน การตามข้อ ๔. หากไม่อยู่ในอำนาจจะเสนอ ทร. ต่อไป
  2. หน่วยผู้ใช้ พัสดุได้รับทราบการจำหน่ายบัญชีแล้ว หากเป็นการจำหน่ายบัญชีที่มีซากพัสดุเหลืออยู่ ให้หน่วยผู้ใช้ส่งคืนพร้อมใบส่งคืนไปยังหน่วยรวบรวมพัสดุใช้แล้ว เช่น พัสดุสายพลาธิการ มีสถานที่ส่งคืนคลัง ๖ (คลังพัสดุชำรุด) กคพธ.พธ.ทร. เป็นต้น หลังจากนั้นจึงลงจ่ายออกจากบัญชีของหน่วย โดยหน่วยเทคนิคจะดำเนินการขาย โอน แลกเปลี่ยน แปรสภาพ หรือ ทำลายตามความเหมาะสมต่อไป
การจำหน่ายพัสดุที่ได้รับความช่วยเหลือจาก อม. 


พัสดุที่ได้รับความช่วยเหลือจาก อม. หมายถึง พัสดุทุกประเภทรายการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนในรูปของการช่วยเหลือ แบบให้เช่า (GRANT AID) เช่นเครื่องจักรกล เครื่องปรับอากาศ รถ เรือ อากาศยาน สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อหน่วยผู้ครอบครองพัสดุใช้ พัสดุดังกล่าวจนชำรุด และไม่สามารถซ่อมทำให้ใช้ราชการได้อีกหรือไม่ปลอดภัยในการใช้อีกต่อไป หรือเกินความต้องการซึ่งจะต้องจำหน่ายออกจากบัญชี ให้หน่วยผู้ครอบครองพัสดุดำเนินการจำหน่ายบัญชีเหมือนกับการจำหน่ายบัญชี พัสดุระหว่างปีที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมอีกประการหนึ่งคือ ภายหลังที่มีผู้มีอำนาจจำหน่ายพัสดุ (อาจเป็น ทร.หรือหน่วยเทคนิค ขึ้นอยู่กับวงเงินอนุมัติ ) อนุมัติให้จำหน่ายบัญชีแล้ว ให้หน่วยผู้ครอบครองพัสดุเก็บรักษาพัสดุนั้นไว้ก่อนและรายงานให้ พธ.ทร. ทราบเพื่อ พธ.ทร. (กองการพัสดุทางทหารต่างประเทศ ฯ) จะดำเนินการแจ้งให้ ทร.อม. จัดส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการกับพัสดุนั้นต่อไป

การดำเนินการของหน่วยเทคนิคเมื่ออนุมัติจำหน่ายบัญชีแล้ว


  1. แจ้งการอนุมัติจำหน่าย ให้กระทรวงการคลัง, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคแล้วแต่ กรณีทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น
  2. การขาย ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ รวมทั้งข้อบังคับทหารว่าด้วยการขายพัสดุของหลวง พ.ศ.๒๔๙๐
  3. การแลกเปลี่ยน ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ส่วนที่ ๕ ข้อ ๑๒๓
  4. การโอน ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕
  5. การแปรสภาพหรือทำลาย เป็นไปตามที่หน่วยเทคนิคกำหนด ดังนี้
  • การแปรสภาพ หมายถึง การกระทำต่อสิ่งอุปกรณ์โดยการดัดแปลง, ยุบรวม, ถอดเป็นชิ้นส่วนอะไหล่โดยที่ไม่มีสภาพของสิงอุปกรณ์เดิมเหลืออยู่
  • การ ทำลาย หมายถึง การกระทำต่อสิ่งอุปกรณ์ที่เป็นพิษ เป็นอันตรายต่อบุคคลและทรัพย์สิน หรือเป็นสิ่งไร้ค่า เมื่อได้รับอนุมัติให้จำหน่ายแล้วไม่สามารถนำไปขาย โอน แลกเปลี่ยนได้ โดยการกระทำให้สิ้นสภาพด้วยการทำลายให้สูญไปหรือทำลายโดยมีซาก ซึ่งกระทำโดยวิธีเผา ฝังดิน หรือทำลายไม่ให้คงรูปเดิม ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นควบคุมการทำลายไม่น้อยกว่า ๓ นาย 
 ปัญหาของการจำหน่าย

ปัญหาของการจำหน่ายพัสดุใน ทร. ปัญหาของการจำหน่ายพัสดุใน ทร. ในปัจจุบัน จะสรุปในประเด็นหัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้
  1. ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ทราบ ซึ่งเกี่ยวข้องกันทั้งผู้ใช้พัสดุกับผู้ครอบครองพัสดุ กล่าวคือ
    ทางด้านผู้ใช้
    • ผู้ ใช้หลายหน่วยไม่ทราบว่าหน่วยงานใดใน ทร.มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ หรือไม่ทราบว่าพัสดุที่ชำรุดอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยเทคนิคใด ตามระเบียบ กองทัพเรือ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๒๘
    • ไม่ทราบว่าค่าใช้ จ่ายที่มองไม่เป็น อันเนื่องมาจากการไม่จำหน่ายพัสดุที่ควรจำหน่าย แล้วเป็นเท่าใด เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาพัสดุสิ้นเปลืองที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ค่าใช้จ่ายแอบแฝงจากการชะงักของงานเนื่องจากการซ่อมบ่อย ๆ เป็นต้น
    • มี การสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ผู้ใช้ หรือผู้รับผิดชอบ ทำให้ไม่ทราบว่าพัสดุทั้งหมดมีเท่าใด มีสิ่งใดสูญหายไปบ้าง และสูญหายหรือชำรุดเสียหายเมื่อใด
    ทางด้านผู้ครอบครอง
    • ได้แก่หน่วยที่มีพัสดุไว้จ่ายไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างใดกับพัสดุที่จะจำหน่าย เช่น พัสดุที่เสื่อมสภาพ
    • ไม่ เข้าใจระเบียบปฏิบัติ หรือระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวยให้จำหน่ายได้ง่าย ๆ หรือบางทีทราบระเบียบและทราบว่าผู้ใดมีหน้าที่อย่างไรแต่เกรงว่าหากรายงาน แล้วตนเองหรือผู้ร่วมงานจะต้องถูกสอบสวน ฯลฯ
  2. ปัญหาเกี่ยวกับระบบการหริหารงานพัสดุ
    การ บริหารงานพัสดุของหน่วยงาน ทร.ส่วนใหญ่เนื่องจากยังให้ความสำคัญของการบริหารพัสดุน้อย เช่น ไม่มีการเก็บข้อมูลของพัสดุที่ บางหน่วยงานไม่ทราบว่าพัสดุที่ใช้อยู่ได้มาจากเงินงบประมาณหรือเงินของหน่วย เอง ได้มาใช้งานตั้งแต่เมื่อใด ไม่ทราบราคาซื้อหรือได้มา เป็นต้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการควบคุมพัสดุทางบัญชีทำให้จำหน่ายไม่ได้ หรือไม่กล้าดำเนินการจำหน่าย
  3. ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ประสานหรือสอดคล้อง
    ระหว่าง การจำหน่ายกับการกำหนดงบประมาณยอดครุภัณฑ์เพื่อขอรับการสนับสนุนทดแทน หน่วยผู้ใช้ที่เสนอขออนุมัติจำหน่ายพัสดุเมื่อได้มีการจำหน่ายบัญชีแล้ว ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนทดแทนเพื่อนำพัสดุไปใช้ราชการได้ทัน เนื่องจากครุภัณฑ์ส่วนใหญ่มีราคาสูง โดยปกติจะไม่จัดหาไว้สำรองคลัง ดังนั้นจึงต้องรวบรวมจำนวนและของบประมาณเพื่อจัดหาเป็นคราว ๆ ไป ทำให้ล่าช้าเสียเวลาได้พัสดุไม่ทันใช้ราชการ

หน่วยพื้นที่ อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน)

1 ไร่ = 4 งาน = 400 ตารางวา = 1,600 ตารางเมตร
1 ตารางกิโลเมตร = 625 ไร่
1 เอเคอร์ = 2.529 ไร่

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกณฑ์สำหรับใช้ในการประเมินแนวทางการปฏิบัติ/แผนการปฏิบัติ (ภาค ๒ ตอน เกณฑ์ทั้ง ๗)

ภาคที่ ๑ ได้กล่าวแล้วว่าเกณฑ์ในการตรวจสอบแบ่งออกเป็น 7 เกณฑ์ สำหรับภาค ๒ นี้ จะกล่าวในรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจสอบแนวทางปฏิบัติ ว่าจะผ่านด่าน (เกณฑ์) ต่อไปนี้หรือไม่

เกณฑ์ที่ ๑ ความยอมรับได้ (Acceptability)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความยอมรับได้ (Acceptability) ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นที่เชื่อได้ว่าแนวทางดังกล่าวคุ้มค่าต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เกณฑ์ความยอมรับได้จะพิจารณาว่าแนวทางปฏิบัติที่ได้พิจารณาแล้วนั้น มีค่าเพียงพอต่อ แรงงาน (Manpower) ที่จะใช้ในการปฏิบัติงาน วัสดุ (Material) และ เวลาที่ต้องใช้ในการปฏิบัติตามแนวทางนั้น (time involved) และต้องมีความสอดคล้อง (ไม่ขัด) กับ กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง


คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ยอมรับได้ เช่น
  1. มีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนที่แนวทางปฏิบัติ จะส่งผลให้บรรลุเป้าหมายหรือสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. แนวทางปฏิบัติมีขัดต่อ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือไม่
  3. ค่าใช้จ่ายของผู้ปฏิบัติงาน ค่าวัสดุ และเวลาที่ต้องใช้ไป ยอมรับได้หรือไม่
  4. ระดับของความเสียงสามารถรับได้หรือไม่
เกณฑ์ที่ ๒ ความเพียงพอ (Adequacy)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ความเพียงพอ ก็ต่อเมื่อขอบเขตและแนวความคิดของแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ครอบคลุมต่อเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เช่น เป้าหมาย กำหนดไว้ว่าต้องการสร้างยานพาหนะที่ทำความเร็วสูงสุดเกินกว่า 160 กม./ชม. และเมื่อมีน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถังต้องสามารถเดินทางได้ไม่น้อยกว่า 700 กม. เมื่อทำการออกแบบแล้วพบว่า (จากการคำนวณ) ยานพาหนะดังกล่าวจะทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 200 กม./ชม. แต่เดินทางได้เพียง 500 กม. เมื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มถัง ดังนั้นแนวทางดังกล่าว (แบบ) ไม่ผ่านเกณฑ์ความเพียงพอ

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความเพียงพอ เช่น
  1.  มีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนที่ขอบเขตและแนวความคิดของแนวทางปฏิบัติ ครอบคลุมต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. แนวทางปฏิบัติ (COA) ผ่านเกณฑ์หรือข้อกำหนดของของภารกิจ/กิจ หรือไม่
เกณฑ์ที่ ๓ ความสมบูรณ์ (Completeness)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถตอบคำถามที่ว่า อะไร (What), ที่ไหน (Where), เมื่อไหร่ (When), ทำไม (Why), และ อย่างไร (How)

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความสมบูรณ์ เช่น
  1. องค์ประกอบสำคัญของแนวทางปฏิบัติถูกระบุ หรือกำหนดแล้วหรือยัง
  2. แต่ละส่วนของแนวทางปฏิบัติเมื่อนำมารวมกันแล้วมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ (coherent whole)
เกณฑ์ที่ ๔ ความแตกต่าง (Distinguish ability)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความแตกต่าง ก็ต่อเมื่อแนวทางปฏิบัติที่นำมาทดสอบไม่เหมือนกัน คือ แนวทางที่ 1 , 2, 3 ... จะต้องแตกต่างกันอย่างชัดเจน

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความแตกต่าง เช่น
  1. แนวทางปฏิบัตินี้แตกต่างจากแนวทางอื่น ๆ หรือไม่ (ถ้าแตกต่างอย่างชัดเจนก็จะผ่านไปได้)
  2. แนวทางปฏิบัติถูกกำหนดและมีรายละเอียดอย่างดีหรือไม่
เกณฑ์ที่ ๕ ความเป็นไปได้ (Feasibility)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ หรือที่สามารถหามาได้

คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความเป็นไปได้ เช่น
  1. แนวทางปฏิบัตินี้ สามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ หรือที่สามารถหามาได้หรือไม่
  2. แนวทางปฏิบัติที่กำหนด สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่ และเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่
เกณฑ์ที่ ๖ ความเหมาะสม (Suitability)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความเหมาะสม ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์


คำถามที่เกี่ยวข้องในการประเมินเกณฑ์ความเป็นไปได้ เช่น
  1. แนวทางปฏิบัตินี้ สามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ ได้อย่างไร
  2. แนวทางปฏิบัตินี้ มีความเหมาะสมที่จะสามารถทำให้บรรลุภารกิจ กิจ หรือ วัตถุประสงค์ มากน้อยแค่ไหน
เกณฑ์ที่ ๗ ความหลากหลาย/ความอ่อนตัว (Variety or varied)
แนวทางปฏิบัติจะผ่านเกณฑ์ ความหลากหลาย ก็ต่อเมื่อแนวทางดังกล่าวสามารถปรับแต่ง หรือปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบได้เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนไป

การนำเกณฑ์ทั้ง ๗ มาตรวจสอบแนวทางปฏิบัติ
การตรวจสอบแนวทางปฏิบัติด้วยเกณฑ์ทั้ง ๗ นั้น จะใช้เกณฑ์ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบ โดยกำหนดจาก 0% - 100% โดยเทียบดังนี้ 0% (Unlikely) คือไม่น่าจะเป็นไปได้ จนถึง 100% (Very likely) คือมีความเป็นไปได้อย่างมาก ในการประเมินความเป็นไปได้ ผู้รู้หลายท่าน เห็นว่าควรแบ่งเป็น 3 โซนคือ โซนแดง คือความเป็นไปได้ <= 50%, โซนเหลือง คือความเป็นไปได้ > 50 % แต่ <= 75%, โซนเขียว คือความเป็นไปได้ >= 75%
                    

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณสมบัติในการ รับ-ส่ง จดหมายอเล็กทรอนิกส์ของ Hotmail จาก Email อื่น ๆ

คุณสมบัตินี้ช่วยให้เราสามารถดึงอีเมล (ของเรา) จากบัญชีอีเมลอื่น ๆ (Email Account) เช่น Gmail หรือ Yahoo! มายัง Hotmail และสามารถตอบกลับ (Reply) จาก Hotmail ในนามของบัญชีนั้น ๆ สำหรับวิธีตั้งค่าตามด้านล่างครับ
  1. Log In เข้าสู่ Hotmail Account
  2. คลิกปุ่ม Options --> More options... (อยู่บริเวณด้านขวาบน)
  3. คลิก Sending/Receiving email from other accounts ของกลุ่ม Managing you account
  4. สามารถ เพิ่ม ลบ และ แก้ไข

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกณฑ์สำหรับใช้ในการประเมินแนวทางการปฏิบัติ/แผนการปฏิบัติ (ภาค ๑)

จะทำอะไรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เมื่อเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว จะต้องมีแผนการปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายนั้นๆ แต่การที่จะได้มาซึ่งแผนการปฏิบัติที่ดีที่สุดนั้นไม่ง่าย (แต่ก็ไม่ยาก) ถ้าท่านศึกษาบทความนี้

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ใด้กำหนดเอาไว้นั้น จำเป็นจะต้องมีแผนการที่ดี (แผนที่ดีสุดของแผนการที่ดี) เพื่อให้การดำเินินการประสบความสำเร็จ (บรรลุวัตถุประสงค์) อย่างที่ตั้งเอาไว้

ในการวางแผนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น นักวางแผนจำเป็นต้องใช้ความสามารถ ทักษะ ความรู้ จินตนาการ ฯ ล ฯ ในการออกแผนการปฏิบัติ และจะต้องออกแบบแผนการปฏิบัติให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ และต้องเสร็จทันตามกำหนด (สำคัญ)

จากนั้นต้องนำแผนการปฏิบัติแต่ละแผนมาทำการประเมิน โดยใช้เกณฑ์ในการประเมินทั้ง 7 เกณฑ์ต่อไปนี้

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินแนวทางในการปฏิบัติ (COA) เพื่อตรวจสอบว่าแต่ละแนวทางการปฏิบัตินั้นมีเหตุมีผลหรือถูกต้อง (Valid) หรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความสอดคล้องกับแนวทางที่ใช้สอนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร ซึ่งจะใช้เกณฑ์ 3 เกณฑ์ ในการตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติ คือเกณฑ์ ความยอมรับได้ (Acceptability)  ความเหมาะสม (Suitability) และ ความเป็นไปได้ (Feasibility) เท่านั้น

ในบทความนี้เกณฑ์ในการตรวจสอบแบ่งออกเป็น 7 เกณฑ์ ประกอบด้วย
  1. ความยอมรับได้ (Acceptability)
  2. ความเพียงพอ (Adequacy)
  3. ความสมบูรณ์ (Completeness)
  4. ความแตกต่าง (Distinguish ability)
  5. ความเป็นไปได้ (Feasibility)
  6. ความเหมาะสม (Suitability)
  7. ความหลากหลาย (Variety)
นักวิเคราะห์/นักวางแผน จะนำเกณฑ์ทั้ง 7 อย่างข้างต้นไปใช้ในการตรวจสอบ แนวทางการปฏิบัติที่ที่ถูกนำเสนอ (ส่งเข้าประกวด) เพื่อคัดเลือกเอา Best of the Best

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขออนุมัติ ขออนุมัติหลักการ และให้ความเห็นชอบ

"ขออนุมัติ" เป็นการเสนอให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัิติในเรื่องที่เสนอทันที ตั้งแต่วันที่อนุมัติ หรือในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเรื่องที่เสนอขออนุมัติ

"ขออนุมัติหลักการ" ใช้ในกรณีที่มีการสั่งการจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้มีการขออนุมัติหลักการก่อน หรือใช้ในเรื่องที่จะต้องมีการปฏิบัติเป็นประจำ เพื่อลดงานด้านธุรการ จึงขออนุมัติเป็นหลักการไว้ เมื่อถึงเวลาปฏิบัติ ก็เสนอขออนุมัติดำเนินการเลย โดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติหลักการก่อน หรือบางเรื่องอาจปฏิบัติได้เลยโดยไม่ต้องเสนอขออนุมัติอีก การขออนุมัติหลักการ ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติทันที

"ให้ความเห็นชอบ" ใช้ในเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจของผู้บังคับบัญชาของตนที่จะให้ดำเนินการได้ จำเป็นต้องเสนอต่อไปจนถึงหน่วยหรือผู้มีอำนาจให้ดำเนินการได้ หรือใช้ในกรณีที่จะต้องขอรับนโยบายจากผู้บังคับบัญชาของตนว่าจะเห็นชอบหรือเห็นด้วยกับแนวทางหรือวิธีการที่จะดำเนินการหรือไม่ก่อนที่จะเสนอขออนุมัติดำเนินการต่อไป

อ้างอิง บันทึก สบ.ทร. ที่ กห ๐๕๒๐/๑๘๓๕ ลง ๑๕ ธ.ค.๔๘

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สูตรแปลงราคาทองคำ

การแปลงราคาทองคำ 
  1. สมมุติ ราคาทองคำ Spot Gold ที่ London Gold AM Fixing  เท่ากับ 1,250 USD/Ounce
  2. สมมุติ อัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 30 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐ
  3. ดังนั้นราคาทองคำในต่างประเทศ คิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 1,250 X 30 บาท/Ounce หรือ 37,500 บาท/ออนซ์ 
สิ่งที่เราต้องทราบคือ
  • ประเทศสหรัฐ หรือ อังกฤษ การซื้อขายทองคำกำหนดเป็น  ดอลล่าสหรัฐ/ออนซ์ (USD/Ounce) ส่วนใหญ่เป็นราคาของทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็น
  • ประเทศไทย การซื้อขายทองคำกำหนดเป็น บาท/บาท (ทองคำ) สำหรับทองคำที่มีค่าความบริสุทธิ์ อยู่ที่ประมาณ 96.5 เปอร์เซ็น (มาตราฐานประเทศไทย)
  • น้ำหนักของทองคำ
    • ทองคำ (99.5%) 1 ออนซ์ = 31.1040 กรัม หรือ 1 กรัม = 1/31.1040  ออนซ์
    • ทองคำ (เมืองไทย 96.5% ) 1 บาท = 15.244 กรัม
    • 1 บาท = 15.244/ 31.1040  ออนซ์
  • เมื่อราคาทองคำแท่งเท่ากับ 37,500 บาท/ออนซ์
    • 1 ออนซ์ ราคา 37,500 บาท ดังนั้น ทองคำหนัก 1 บาท หรือ (15.244/ 31.1040)  ออนซ์ ราคาเท่ากับ (15.244/ 31.1040)x37,500 บาท หรือ 18,378.665 บาท
    • แต่ความบริสุทธิ์ของทองคำเมืองไทย 96.5% ขณะที่สหรัฐ 99.5% ดังนั้นราคาเมืองไทยคือ 18,378.665 x (96.5/99.5) บาท หรือ 17,822 บาท
    • อย่างไรก็ตามราคาทองคำที่ประกาศมักจะรวมค่าดำเนินการเข้าไปด้วย ดังนั้นราคาจะสูงกว่า 17,822 บาท เล็กน้อย หรือ Spot Gold ในการคำนวณต้องบวกเข้าไปอีก 1 ถึง 2 ดอลล่าร์ (Spot Gold + 1)
เขียนเป็นสูตรจะได้ดังนี้

Final Settlement Price = (Spot Gold + 1) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x (15.244/31.1035)x(0.965/0.995)

หรือ

ราคาทองเมืองไทย = (Spot Gold +1) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.475

ทดสอบสูตร
  1. ราคาทองคำ London Gold Fix PM เท่ากับ 1,324.50 USD/Ounce
  2. อัตราแปลกเปลี่ยนเงินบาท เท่ากับ 30.20 บาท/ดอลล่าร์ 
  3. ราคาทองคำเมืองไทย = (1,324.50 + 1) x 30.20 x 0.475 หรือบาทละ 19,014 บาท
  4. เมื่อดูราคาของสมาคมทองคำจะขายอยู่ที่ประมาณ 18,900 บาท 

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Bargain-Hunter

วันนี้มีประโยคที่น่าสนใจมาเสนอครับ คือ bargain hunter ซึ่งหมายถึง คนที่พยายามซื้อของหรือสินค้าจากแหล่งที่มีราคาถูกที่สุด หรือนักลงทุนที่ซื้อหุ้นขณะที่ราคาต่ำโดยหวังว่าในอนาคตหุ้นตัวนั้นจะมีราคาสูงขึ้น เช่น  "bargain hunters jump to purchase the yellow metal after it hits three-month lows... " (Yahoo! Finance)

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Quantitative Easing ภาค ๑

ระยะนี้ถ้าอ่านข่าวเศรษฐกิจ ก็จะพบคำว่า Quantitative Easing อยู่เสนอ ๆ เพราะอะไรนโยบายดังกล่าวจึงมีความสำคัญมากขนาดนี้

Quantitative Easing (QE) คือ นโยบายการเงิน ที่ธนาคารกลางของประเทศนำมาใช้ เพื่อจะอัดฉีกเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ระหว่างช่วงเวลาที่ ดอกเบี้ย ต่าง ๆ ลดลงเกือบเป็นศูนย์

วัตถุประสงค์ ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังซบเซาให้ดีขึ้น และลดปัญหาการว่างงาน

ปัญหา ขณะที่เศรษฐกิจกำลังซบเซา และ ดอกเบี้ย ต่าง ๆ ลดลงเกือบเป็นศูนย์ นั้น ธนาคารพาณิชย์ มักจะไม่ปล่อยเงินกู้ให้กับนักลงทุน หรือบริษัทต่าง ๆ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดหนี้เสีย แต่อย่างไรก็ตามธนาคารจำเป็นต้องหารายได้เพื่อความอยู่รอด จึงหันไปซื้อ พันธบัตรรัฐบาล หรือ bonds ต่าง ๆ หวังอัตราแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย โดยปกติอยู่ที่ประมาณ ๒ เปอร์เซ็นต์ (ได้นิดหน่อย ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย) จะเห็นได้ว่าธนาคารยังคงอยู่รอดได้ แต่นักลงทุน หรือบริษัทต่าง ๆ ยังคงประสบปัญหา รัฐบาลจึงออกนโยบาย QE เพื่อให้นักลงทุน หรือบริษัทต่างๆ มีเงินในการลงทุน หรือประกอบกิจการ มากขึ้น


วิธีการ คือธนาคารกลางจะหันไปซื้อ พันธบัติของรัฐบาล หรือ bonds ต่าง ๆ คืนจาก ธนาคารพาณิชย์ การกระทำดังกล่าวจะส่งผลให้ มีความต้องการซื้อ พันธบัตรฯ สูงขึ้น ส่งผลให้ ราคาของพันธบัตรฯ สูงตามไปด้วย (หาซื้อยากขึ้น) ขณะเดียวกันผลตอบแทนจากพันธบัตรยังเท่าเดิม ธนาคารจึงเลือกที่จะไม่ลงทุนในพันธบัตร แต่จะหันไปขายพันธบัตรที่ตนเองถืออยู่ให้ธนาคารกลาง แล้วนำเงินไปปล่อยกู้ให้ นักลงทุน หรือบริษัท แทน

ปัญหาที่ตามมา
แล้วธนาคารกลางเอาเงินมาจากไหน มาซื้อคืนพันธบัตรจากธนาคารพาณิชย์ คำตอบคือ "พิมพ์" ในความเป็นจริงธนาคารกลางไม่ได้พิมพ์ธนบัตรจริง ๆ ออกมา แต่จะทำในรูปแบบทางบัญชี electronic transaction

สิ่งที่ตามมากับนโยบาย QE เหมือนกับเงาก็คืออัตราเงินเฟ้อ เพราะกระแสเงินที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจะทำให้กำลังซื้อของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าและบริการต่าง ๆ ยังคงมีบริมาณเท่าเดิม และความเชื่อมั่นในสกุลเงินดังกล่าวจะลดลง

ส่งผลให้
  • ค่าเงินลดลง
  • อสังหาริมทรัพย์ สินค้า และบริการ มีราคาสูงขึ้น 

สิ่งที่จะเกิดขึ้น

นักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะออกนโยบาย QE ในเร็ว ๆ นี้ จึงทำให้นักลุงทุนเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐที่จะลดลง และจะหันไปลงทุนใน Safe Haven ต่าง ๆ (หนึ่งในนั้นคือทองคำแท่ง) จึงส่งผลให้ราคาทองคำในปัจจุบัน สูงอย่างต่อเนื่อง แตุ่ถ้าธนาคารกลางสหรัฐ ไม่ออกนโยบายดังกล่าว อะไรจะเกิดขึ้น โปรดติดตามตอนต่อไป...(หุ หุ หุ...)

    วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    U.S. Dollar Index คืออะไร

    U.S.Dollar Index (USDX) คือดัชนีวัดมูลค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับตะกร้าสกุลเงินต่างประเทศหลักในสัดส่วนต่อไปนี้
    1. Euro (EUR) , 57.6% โดยน้ำหนัก
    2. Japanese Yen (JPY), 13.6% โดยน้ำหนัก
    3. Pound sterling (GBP), 11.9% โดยน้ำหนัก
    4. Canadian dollar (CAD), 9.1% โดยน้ำหนัก
    5. Swedish krona (SEK), 4.2% โดยน้ำหนัก
    6. Swiss franc (CHF), 3.6% โดยน้ำหนัก
    USDX จะมีค่าสูงเมื่อเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่า เที่ยบกับสกุลเงินอื่น ๆ
    ระบบ USDX เริ่มเมื่อ ค.ศ.1973 โดยเริ่มแรกกำหนดให้ค่า USDX เ่ท่ากับ 100.000
    วันที่เขียนบทความนี้ U.S.Dollar Index (USDX) อยู่ที่ประมาณ 78.202
    ส่วน U.S.Dollar Index (USDX) มี่ความสัมพันธ์กับ ราคาทองคำอย่างไรนั้นคงทราบกันนะครับ

    รูปสัดส่วนสกุลเงินต่างประเทศ

    ความหมายของ hike

    ความหมายของคำว่า hike ที่จะพบเสมอในบทความทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร โดยปกติ คำว่า hike จะแปลว่าการเดินเที่ยวป่า แต่ความหมายที่เกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร จะมีความหมายตรงกับคำว่า การเพิ่มขึ้นของราคา, อัตราตราดอกเบี้ย, หรือ อัตราภาษี อย่างกระทันหัน ในอัตราส่วนที่มากกว่าปกติ ดังนั้น คำว่า interest rate hike จะแปลว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างกระทันหัน อย่างเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ " an interest rate hike in China "

    วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    ราคาทองคำลด ขณะที่ดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่า

    แหล่งข่าว The Street (Metals and Mining)
    ราคาทองคำลดอย่างมากเมื่อวันอังคาร ที่ ๑๙ ต.ค.๕๓ เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น

    ราคาทองคำสำหรับเดือน ธ.ค.๕๓ ของ Comex ลดลง $36.10 เหลือ $1336 ต่อ ounce และราคาทองคำประจำวันอังคาร ที่ ๑๙ ต.ค.๕๓ สูงสุดอยู่ที่ $1,371.70 ต่ำสุดอยู่ที่ $1,332.5

    นักลงทุนได้ซื้อทองคำเพื่อป้องกันสภาวะเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากทุกดอลลาร์ที่มีค่าลดลง จะส่งผลให้ทองคำเป็นวิธีการทีปลอดภัยในการรักษาค่าของทรัพย์สินของตนเอง แต่เมื่อนักลงทุนลดความกังวลในสภาวะเงินเฟ้อ ก็จะทยอยขายทองคำบางส่วนของตนเอง ซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำลดลง

    ก่อนหน้านี้นักลงคาดว่าประเทศสหรัฐอาจจะเพิ่มระัดับเงินเฟ้อระยะยาว นั้นหมายความว่าสหรัฐจะพิมพ์เงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น แต่ขณะนี้นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่าสหรัฐจะยังคงเพิ่มระดับเงินเฟ้อระยะยาวหรือไม่

    นาย Tim Geithner, Treasury Secretary, บอกว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่ปล่อยให้ค่าเงินสหรัฐตกต่ำเพื่อหวังผลประโยชน์สำหรับการส่งออก

    อีกทั้งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ (ไทย บราซิล และ ญี่ปุ่น) ก็พยายามป้องกันการแข็งค่าเงินของประเทศตนเอง

    นอกจากนั้นราคาทองคำยังพบกับความกดดัน จากการที่ประเทศจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ย (key benchmark interest rate) ประมาณ 25 points เพื่อดูดซับกระแสเงินออกจากระบบ เมื่อเงินในระบบน้อยลงก็จะส่งผลโดยตรงต่อกำลังซื้อทองคำ ของประเทศที่เป็นหนึ่งในประเทศที่ซื้อทองคำมากที่สุด

    วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    ราคาทองคำเพิ่มขึ้น

    แหล่งข่าว Kitco News 14 Oct 2010

    ราคาทองคำ Comex gold เมื่อวันพฤหัสบดี ๑๔ ต.ค.๕๓ ทำสถิติสูงถึง 1,388.10  USD ขณะที่ U.S. dollar ลดต่ำในรอบ ๑๐ เดือน (วันพฤหัสบดี)

    ราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงในช่วงต้นของการซื้อขายจากแรงขายทำกำไร และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง ส่วนแรงต้านทางจิตวิทยาอยู่ที่ประมาณ 1,400 USD/ounce

    ขณะที่ Commodity ตัวอื่นเช่น ข้าว เงิน ทองแดง ไม้ ฝ้าย และ น้ำมันดิบ ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าก็ได้ปรับตัวขึ้น

    ราคาทองคำ Comex ประจำเดือน ธ.ค.๕๓ อยู่ที่ 1,378.40 USD เพิ่มขึ้น 7.9 USD/ounce ขณะที่ Spot gold อยู่ที่ 1,378.00 USD เพิ่มขึ้น 5.6 USD/ounce

    ราคาทองคำ Londox P.M. fixing  อยู่ที่ 1,373.25 USD/ounce เพิ่มขึ้นจาก Londox P.M. fixing ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 1,365.50 USD/ounce

    วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    มาตราการใหม่ของ Fed ในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

    แหล่งข่าว BBC http://www.bbc.co.uk/news/business-11528158 (๑๓ ต.ค.๕๓)

    Fed กำลังมองหามาตราการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากปัจจุบัน (ต.ค.๕๓) สหรัฐฯ ประสบปัญหาผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย.๕๓

    ขณะที่อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 0% and 0.25% ตั้งแต่ ธ.ค.2551

    นักวิเคราะห์คาดว่า Fed จะประกาศมาตราการใหม่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในเดือน พ.ย.๕๓

    แหล่งข่าว The Street http://www.thestreet.com/story/10885896/1/gold-prices-fall-on-stronger-dollar.html

    ทองคำเป็นทางเลือกในการลงทุนเมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อน ในทางตรงกันข้ามเมื่อดอลลาร์สหรัฐแข็งตัวจะดึงดูดให้นักลงทุนหันมาลงทุนในเงินดอลลาร์สหรัฐ และจะทำให้ทองคำมีค่าลดลง

    ราคาทองคำปัจจุบัน Comex 1,357.7 USD/ounce Oct 12, 2010 22:44 NY Time

    วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

    การกำหนดอัตราเครื่องมือ พัสดุอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ และชิ้นส่วนซ่อม

    ตามคำสั่ง ทร. (เฉพาะ) ที่ ๒๑๗/๒๕๓๗

    ๔. หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยเทคนิคในการซ่อมบำรุง

         ๔.๔ กำหนดอัตราเครื่องมือ พัสดุอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ และชิ้นส่วนซ่อมที่จำเป็นต้องใช้ สำหรับการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของหน่วยซ่อมบำรุงระดับต่าง ๆ และดำเนินการจัดหา สนับสนุนให้มีอย่างครบถ้วน

    ตามคำสั่ง อซป. (เฉพาะ) ที่ ๒ / ๒๕๕๒

    ๒. หน้าที่ความรับผิดชอบ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการซ่อมบำรุงตามแผน
         ๒.๑ หน่วยเทคนิค มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
                ๒.๑.๑ จัดหาและพัฒนาให้มีระบบการซ่อมบำรุงตามแผนของยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในความรับผิดชอบอย่างครบถ้วน ติดตามดูแลให้แน่ชัดว่าในการจัดหายุทโธปกรณ์มาใช้ใน ทร. ทุกครั้ง จะต้องจัดหาระบบการซ่อมบำรุงตามแผน รายการชิ้นส่วนซ่อมที่จำเป็นต้องใช้ และคู่มือทางเทคนิคของยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ดังกล่าวมาให้พร้อมตามความจำเป็นด้วยเสมอ
                ๒.๑.๒ ...

    ซ่อมบำรุงเรือ (การซ่อมบำรุงเรือระดับโรงงาน)

    รายละเอียดตาม ผนวก ก. ประกอบคำสั่ง ทร. (เฉพาะ) ที่ ๒๑๗/๒๕๓๗
    การซ่อมบำรุงเรือระดับโรงงานแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
    1. การซ่อมจำกัด คือ การซ่อมบำรุงขั้นที่ ๑ เป็นการซ่อมเฉพาะส่วนที่มีการชำรุดเสียหาย...
    2. การซ่อมตามระยะเวลา คือ การซ่อมบำรุงขั้นที่ ๔ เป็นการซ่อมบำรุงที่มีการวางแผนล่วงหน้า...
    3. การซ่อมคืนสภาพ คือ การซ่อมบำรุงขั้นที่ ๕ เป็นการซ่อมที่มีการวางแผนล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้เรือกลับคืนสู่สภาพ...

    เอกสารอ้างอิง

    1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕
    2. คำสั่ง ทร. (เฉพาะ) ที่ ๒๑๗/๒๕๓๗ เรื่อง การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ
    3. อทร. ๔๐๐๕ คู่มือการจัดซื้อ/จ้าง พ.ศ.๒๕๕๒
    4. คู่มือระบบการซ่อมบำรุงตามแผน ของ กองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๒๙ (กรมยุทธศึกษาทหารเรือ)

    ความหมาย "การซ่อมบำรุง"

    1. การซ่อมบำรุง [อทร.๔๐๐๑ (หน้า ๙)]:  การกระทำใด ๆ เพื่อบำรุงรักษาให้ยุทโธปกรณ์อยู่ในสภาพที่ใช้ราชการได้ หรือเพื่อให้ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ราชการไม่ใด้ กลับคืนสู่สภาพที่ใช้ราชการได้ การซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์มีความหมายรวมถึงการปรนนิบัติบำรุง การตรวจสภาพ การให้บริการ การแยกประเภทตามสภาพการใช้งานได้ การซ่อมแก้ การซ่อมใหญ่ การซ่อมสร้าง การดัดแปลงแก้ไข และการซ่อมคืนสภาพ ในเรื่องของอุปกรณ์หลักหรือระบบอาวุูธนั้นจะมีการจัดทำโดยใช้ระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวม (ILS - Intergrated Logistics Support) เข้ามาดำเนินการ ซึ่งระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมนี้จะนำมาใช้ตั้งแต่ขัั้้นตอนของการจัดหา ของระบบอาวุธ หรืออุปกรณ์หลักนั้น และจะมีการซ่อมบำรุงตามวงรอบเพื่อให้ระบบหลักนั้น ๆ ได้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น สำหรับการซ่อมบำรุงของกองทัพเรือ แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ...
    2. การซ่อมบำรุง (คำสั่ง ทร. ที่ ๒๑๗/๒๕๓๐): การปฏิบัติทั้งปวงที่กระทำเพื่อให้ยุทโธปกรณ์คงอยู่ในสภาพหรือกลับสู่สภาพใช้การได้ การปฏิบัติดังกล่าวได้แก่ การตรวจ การทดสอบ การบริการ การแยกประเภทในเรื่องความสามารถใช้การได้ การซ่อม การซ่อมสร้าง การดัดแปลง และการทำให้กลับใช้การได้
    3. การซ่อมบำรุง (คำสั่ง อซป. ที่ ๒/๒๕๕๒): การปฏิบัติทั้งปวงเพื่อให้ยุทโธปกรณ์คงอยู่ในสภาพหรือกลับคืนสู่สภาพใช้การได้
    4. การซ่อมบำรุง [คู่มือระบบการซ่อมบำรุงตามแผน ของ ทร. ๒๕๒๙ (หน้า ๑-๒)]: การปฏิบัติทั้งปวงเพื่อให้ยุทโธปกรณ์คงอยู่ในสภาพหรือกลับคืนสู่สภาพใช้การได้...
    5. การซ่อมบำรุง [คำสั่ง ทร. ที่ ๒๐๘/๒๕๓๓ (ยกเลิกแล้ว)] การปฏิบัติทั้งปวงที่กระทำเพื่อให้ยุทโธปกรณ์คงอยู่ในสภาพหรือกลับสู่สภาพ ใช้การได้ การปฏิบัติดังกล่าวได้แก่ การตรวจ การทดสอบ การบริการ การแยกประเภทในเรื่องความสามารถใช้การได้ การซ่อม การซ่อมสร้าง การดัดแปลง และการทำให้กลับใช้การได้ การซ่อมบำรุงแบ่งการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลักได้ ๓ ลักษณะคือ การซ่อมบำรุงป้องกัน การซ่อมบำรุงแก้ไข และการซ่อมบำรุงปรับปรุง

      พัสดุแบ่งตามสภาพ

      1. ยุทโธปกรณ์ (Equipment)
      2. ครุำัภัณฑ์ (Equipage)
      3. วัสดุ (Consumable)
      4. ชิ้นส่วนซ่อม (Repair Parts)